เมนู

แก้บท เม


เม

ศัพท์ พบกันอยู่ในความ 3 ความ. จริงอย่างนั้น เมศัพท์ มี
ความว่า มยา อันเรา ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ภาถาภิคีตํ เม อโภชเนยฺยํ
โภชนะที่ได้มาด้วยการขับกล่อม อันเราไม่ควรบริโภค.
มีความว่า มยฺหํ แก่เรา ได้ในพระโยคเป็นต้นว่า สาธุ เม ภนฺเต
ภควา สงฺขิตฺเตน ธมฺมํ เทเสตุ
ดีละ พระเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาค-
เจ้า โปรดทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด.
มีความว่า มม ของเรา ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ธมฺมทายาทา
เม ภิกฺขเว ภวถ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นธรรม
ทายาทของเราเถิด.

แต่ในที่นี้ เมศัพท์ ย่อมถูกต้องในความทั้งสองคือ เม สุตํ อัน
ข้าพเจ้าฟังมา มม สุตํ การฟังของข้าพเจ้า.

แก้บท สุตํ


สุต

ศัพท์นี้ มีอุปสรรคและไม่มีอุปสรรค ต่างกันโดยความหลายความ
เช่นมีความว่า ไป ปรากฏ กำหนัด สั่งสม ขวนขวาย เสียงที่รู้ทางโลตะ
และรู้ตามแนวโสตทวารเป็นต้น. จริงอย่างนั้น สุตศัพท์นั้น
มีความว่าไป ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เสนาย ปสุโต เคลื่อนทัพ
ไป.
มีความว่า ปรากฏ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า สุตธมฺมสฺส ปสฺสโต
ผู้มีธรรมปรากฏ
แล้ว เห็นอยู่.
มีความว่า กำหนัด ได้ในประโยคเป็นต้นว่า อวสฺสุตา อวสฺสุตสฺส
ภิกษุณีมีความกำหนัด ยินดีการที่ชายผู้มีความกำหนัดมาลูบคลำจับต้องกาย.

มีความว่า สั่งสม ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ตุมฺเหหิ ปฺญฺญํ
ปสุตํ อนปฺปกํ
ท่านทั้งหลายสั่งสมบุญเป็นอันมาก.
มีความว่า ขวนขวาย ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เย ฌานปฺปสุตา
ธีรา
ปราชญ์เหล่าใดขวนขวายในฌาน.
มีความว่า เสียงที่รู้ทางโสตะ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า ทิฏฺฐํ
สุตํ มุตํ
รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ.
มีความว่า รู้ตามแนวโสตทวาร ได้ในประโยคเป็นต้นว่า สุตธโร
สุตสนฺนิจโย
ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ.
แต่ในที่นี้ ศัพท์ว่า สุตะ มีความว่า เข้าไปทรงไว้หรือการทรงจำ
ไว้ด้วยวิถีวิญญาณ ซึ่งมีโสตวิญญาณเป็นหัวหน้า. ในคำนั้น เมื่อใด เมศัพท์
มีความว่า มยา อันข้าพเจ้า เมื่อนั้นก็ประกอบความว่า อันข้าพเจ้าฟังมา
แล้ว คือทรงจำไว้แล้วด้วยวิถีวิญญาณ อันมีโสตวิญญาณเป็นหัวหน้า อย่างนี้.
เมื่อใด เมศัพท์ มีความว่า มม ของข้าพเจ้า เมื่อนั้น ก็ประกอบความว่าการ
ฟังของข้าพเจ้าคือการทรงจำไว้ ด้วยวิถีวิญญาณอันมีโสตวิญญาณเป็นหัวหน้า.
บรรดาบททั้ง 3 เหล่านั้น ดังพรรณนามานี้ บทว่า เอวํ เป็นบท
ชี้ถึงกิจคือหน้าที่ของโสตวิญญาณ. บทว่า มยา เป็นบทชี้ถึงบุคคลผู้ประกอบ
ด้วยโสตวิญญาณที่กล่าวแล้ว. บทว่า สุตํ เป็นบทชี้ถึงการถือเอาไม่ขาดไม่
เกินและไม่วิปริต เพราะปฏิเสธภาวะคือการไม่ได้ฟัง.
นัยหนึ่ง บทว่า เอวํ เป็นบทแสดงถึงภาวะที่มีจิตคิดจะฟังเป็นต้น
เป็นไปในอารมณ์ โดยประการต่าง ๆ. บ ทว่า เม เป็นบทแสดงถึงตัว. บทว่า
สุตํ เป็นบทแสดงถึงธรรม.

อีกนัยหนึ่ง บทว่า เอวํ เป็นบทชี้แจงธรรมที่ควรชี้แจง. บทว่า
เม เป็นบทชี้แจงตัวบุคคล. บทว่า สุตํ เป็นบทชี้แจงกิจคือหน้าที่ของตัว
บุคคล.
อีกนัยหนึ่ง ศัพท์ว่า เอวํ อธิบายถึงประการต่าง ๆ ของวิถีจิตทั้ง
หลาย เป็นอาการบัญญัติ ศัพท์ว่า เม อธิบายถึงตัวผู้ทำ. ศัพท์ว่า สุตํ
อธิบายถึงวิสัย.
อีกนัยหนึ่ง ศัพท์ว่า เอวํ อธิบายถึงกิจหน้าที่ของบุคคล. ศัพท์ว่า
สุตํ อธิบายถึงกิจหน้าที่ของวิญญาณ. ศัพท์ว่า เม อธิบายถึงบุคคลผู้กอปร
ด้วยกิจทั้งสอง.
อีกนัยหนึ่ง ศัพท์ว่า เอวํ แสดงถึงภาวะ. ศัพท์ว่า เม แสดงถึง
บุคคล. ศัพท์ว่า สุตํ แสดงถึงกิจของบุคคลนั้น.
ในคำเหล่านั้น คำว่า เอวํ และว่า เม เป็นวิชชมานบัญญัติ โดย
เป็นสัจฉิกัตถปรมัตถ์. คำว่า สุตํ เป็นวิชชมานบัญญัติ.
อีกนัยหนึ่ง คำว่า เอวํ และ เม ชื่อว่า อุปาทาบัญญัติ เพราะกล่าว
อาศัยอารมณ์นั้น ๆ. คำว่า สุตํ ชื่อว่า อุปนิธาบัญญัติ เพราะกล่าวอ้างอารมณ์
มีอารมณ์ที่เห็นแล้วเป็นต้น.
ก็ในคำทั้ง 3 นั้น พระเถระแสดงไม่หลงเลือนด้วยคำว่า เอวํ. ความ
ไม่หลงลืมเรื่องที่ฟังมาด้วยคำว่า สุตํ อนึ่ง พระเถระแสดงการใส่ใจโดยแยบคาย
ด้วยคำว่า เอวํ เพราะไม่มีการแทงตลอดโดยประการต่าง ๆ สำหรับผู้ใส่ใจ
โดยไม่แยบคาย. แสดงความไม่ฟุ้งซ่านด้วยคำว่า สุตํ เพราะไม่มีการฟัง
สำหรับผู้มีจิตฟุ้งซ่าน. จริงอย่างนั้น บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน แม้ท่านจะกล่าว
ครบถ้วนทุกอย่าง ก็จะกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ยิน โปรดพูดซ้ำสิ. ก็ในข้อนี้

บุคคลจะให้สำเร็จการยังตนไว้ชอบและความเป็นผู้ทำบุญไว้ก่อน ก็ด้วยการใส่
ใจโดยแยบคาย จะให้สำเร็จการฟังธรรมของสัตบุรุษ และการฟังพาอาศัย
สัตบุรุษ ก็ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ก็พระเถระแสดงความถึงพร้อมด้วยจักรธรรม
2 ข้อหลังของด้วยอาการอันงาม ด้วยบทว่า เอวํ นี้ แสดงความถึงพร้อม
ด้วยจักรธรรม 2 ข้อต้น ด้วยความเพียรฟัง ด้วยบทว่า สุตํ อนึ่ง พระเถระ
แสดงความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัย และความบริสุทธิ์แห่งความเพียรอย่างนั้น
คือ แสดงความฉลาดในอธิคมด้วยความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัย ทั้งแสดงความ
ฉลาดในปริยัติ ด้วยความบริสุทธิ์แห่งความเพียร.
อนึ่ง พระเถระแสดงความถึงพร้อมด้วยอรรถปฏิสัมภิทาและปฏิภาณ
ปฏิสัมภิทาของตน ด้วยถ้อยคำอันแสดงปฏิเวธมีประการต่างๆ ด้วยคำว่า เอวํ
นี้ แสดงความถึงพร้อมด้วยธรรมปฏิสัมภิทาและนิรุกติปฏิสัมภิทา ด้วยถ้อยคำ
อันแสดงปฏิเวธอันต่างด้วยข้อที่ควรฟัง ด้วยคำว่า สุตํ นี้ อนึ่งพระเถระ
เมื่อกล่าวคำที่แสดงถึงความใส่ใจโดยแยบคายนี้ ก็ประกาศให้เขารู้ว่า ธรรม
เหล่านี้ ข้าพเจ้าเพ่งด้วยใจแล้วรู้ทะลุปรุโปร่งแล้วด้วยทิฏฐิ ด้วยคำว่า เอวํ
เมื่อกล่าวคำอันแสดงถึงความเพียรฟังนี้ ก็ประกาศให้เขารู้ว่า ธรรมเป็นอันมาก
ข้าพเจ้าฟังแล้วทรงจำแล้ว คล่องปากแล้ว ด้วยคำว่า สุตํ เมื่อแสดงความ
บริบูรณ์แห่งอรรถะและพยัญชนะให้เกิดความเอื้อเฟื้อที่จะฟัง แม้ด้วยคำทั้ง
สองนี้.
อนึ่ง ท่านพระอานนท์ไม่ตั้งธรรมที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว เพื่อ
ตน ล่วงเสียซึ่งภูมิของอสัตบุรุษ เมื่อปฏิญาณความเป็นพระสาวก จึงก้าวลงสู่
ภูมิของสัตบุรุษ ด้วยคำแม้ทั้งสิ้น ว่า เอวํ เม สุตํ นี้. อนึ่ง พระเถระ
ชื่อว่า ยกจิตขึ้นจากสัทธรรม ทั้งจิตไว้ในพระสัทธรรม. อนึ่งเมื่อแสดงว่า
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ข้าพเจ้า

ฟังมาแล้วอย่างสิ้นเชิง ชื่อว่า เปลื้องตน อ้างพระศาสดา แนบสนิทพระพุทธ-
ดำรัส ตั้งแบบแผนธรรมไว้.
อนึ่งเล่า พระเถระไม่ยอมรับความที่คำว่า เอวํ เม สุตํ คนทำให้
เกิดขึ้น เมื่อเปิดการฟังมาก่อนใคร จึงควรทราบว่า ท่านชื่อว่าทำลายความ
ไม่เธอ ทำให้เกิดสัทธาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยความเชื่อในพระธรรมนี้
แก่มวลเทวดาและมนุษย์ว่า พระดำรัสนี้ ข้าพเจ้ารับมาต่อพระพักตร์ของพระผู้-
มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้แกล้วกล้าด้วยจตุเวสารัชชญาณ ผู้ทรงทศพล ผู้
ดำรงอยู่ในตำแหน่งสูงสุด ผู้บันลือสีหนาท ผู้ทรงเป็นยอดของสรรพสัตว์
ทรงเป็นใหญ่ในธรรม ทรงเป็นราชาแห่งธรรม อธิบดีแห่งธรรม ทรงมีธรรม
เป็นที่พึ่งอาศัย ทรงหมุนจักรอันประเสริฐ คือ สัทธรรม ทรงเป็นพระสัมมา-
สัมพุทธะตรัสรู้ชอบลำพังพระองค์ ในบทดำรัสนั้น ไม่ควรทำความสงสัยเคลือบ
แคลงในอรรถหรือธรรม บทหรือพยัญชนะเลย. ก็ในข้อนี้มีคำกล่าวว่า
วินาสยติ อสทฺธิยํ สทฺธํ วฑฺเฒติ สาสเน
เอวมฺเม สุตมิจฺเจวํ วทํ โคตมสาวโก.
ท่านพระอานนท์ สาวกของพระโคดมพุทธเจ้า
เมื่อกล่าวคำว่า เอวมฺเม สุตํ ชื่อว่าทำลายอสัทธิยะ
ความไม่เชื่อ เพิ่มพูนศรัทธาความเชื่อในพระศาสนา.


แก้อรรถ เอกํ และ สมยํ


ศัพท์ว่า เอกํ แสดงการกำหนดจำนวน. ศัพท์ว่า สมยํ แสดงกาล
ที่กำหนด. สองคำว่า เอกํ สมยํ แสดงกาลไม่แน่นอน ในคำนั้น สมย
ศัพท์ มีความว่า พร้อมเพรียง ขณะ กาล ประชุม เหตุลัทธิ
ได้เฉพาะ ละ และแทงตลอด.